Month: May 2021

FoodStory Secures Series B Funding to Further Strengthen the Thai Restaurant Ecosystem

Posted on by admin_beacon_2024

On May 27th 2021, FoodStory, a leading POS & Restaurant Management System startup, announced that it recently raised Series B funding in a round led by Beacon VC, the venture capital arm of KASIKORNBANK PCL (KBank), with participation from JWD InfoLogistics PCL (JWD). The company plans to use the proceeds to support product development to improve restaurant operation efficiency. Additionally, FoodStory aims to enhance the Thai restaurant ecosystem by turning data into insights for restaurant owners to better understand and optimize their businesses for sustainable development.

FoodStory offers a one-stop solution for various types of restaurants including sit-down restaurants, buffets, coffee shops, and food trucks. Users can get started with a single iPad. The platform also covers dine-in and delivery services management as well as backend operations including integration with accounting systems and FoodStory Market, the company’s own restaurant supply marketplace for purchasing raw ingredients online. FoodStory offers several subscription packages and hardware equipment to support diverse restaurant requirements.

Nowadays, restaurants have greatly adapted to dynamic market conditions and are embracing technology. This aligns with FoodStory’s core mission to constantly develop and increase the efficiency of the system. FoodStory’s vision is to “Leverage Data To Connect Farm to Folk.”  The company is building on its existing POS and restaurant management system capabilities by turning data into insights that enable restaurants to efficiently grow their business.

Mr. Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon VC, revealed that “KBank’s core focus is to develop and provide financial technology to serve the needs of all customers and businesses in different sectors. Through Beacon VC’s investment and collaboration with FoodStory, we aim to support small and medium-sized restaurants by improving their access to financial products and funding through data utilization. Despite the uncertainty within the restaurant industry due to the pandemic, Beacon VC believes that FoodStory will play a crucial role in helping restaurant entrepreneurs to survive this crisis, especially as they shift from dine-in to take-out and food delivery. In addition, apart from supporting restaurant operations management, FoodStory’s solution allows restaurants to acquire new customers and improve sales.”

Mr.Tanate Piriyothinkul, Chief Commercial Officer of JWD InfoLogistics PCL, said that “JWD Group foresees the importance and growth potential of the food industry, especially through e-commerce channels, with an exceptional capability to thrive even further. JWD’s investment in FoodStory is one of the e-commerce strategies to accelerate food logistics business through an application platform in order to expand our food logistics to cover B2B, B2C, and C2C segments in the future. This growth will be enabled by cold chain express delivery service as well as an extensive network of temperature-controlled distribution centers and warehouses according to our business plan. We see FoodStory as an exceptional restaurant management platform which has high growth potential due to their business model, technology, and most importantly, the team with a strong vision and deep understanding of the total needs of restaurant businesses.”

Mr.Thagoon Chartsutipol, Founder and CEO of Living Mobile Co., Ltd., revealed that “for the past two years, we have developed the restaurant ecosystem through integration with LINE MAN and Wongnai in order to help restaurants increase their revenue. A year ago, we launched FoodStory Market with the concept of “A Place Where Suppliers Meet Kitchens” to facilitate online purchase of raw ingredients and address the pain points of price fluctuation, inconvenience in physical shopping, and employee fraud. Moreover, FoodStory Market has been fully integrated with the POS Inventory Management, online payment, and E-TAX Invoice modules. In order to empower a comprehensive restaurant ecosystem that connects Farm to Folk, we need a strong financial services partner like KBank and a cold chain logistics expert like JWD to fill these gaps and successfully build on the new form of supply chain business.

About FoodStory
Living Mobile Co., Ltd., also known as FoodStory, is a Thai tech startup which provides POS and restaurant management systems, and a food supply marketplace called “FoodStory Market”. FoodStory has over 25,000 users. FoodStory was established in 2012 and was the winner of True Incube Asia Pacific Mobile App Challenge in 2014 and SME Teetak in 2016 as well as being ranked top in restaurant management category due to the company’s consistent growth. FoodStory previously raised from Wongnai in 2018 and just completed a Series B funding round from Beacon VC and JWD in 2021.

About Beacon Venture Capital (Beacon VC)

Founded in 2017, Beacon VC is a wholly-owned corporate venture capital fund of Kasikornbank PCL. Beacon VC focuses on strategic investments in early to growth-stage technology startups covering not only financial technology (fintech) but also consumer internet and enterprise technology. Currently, Beacon VC has increased a fund size to $185 million to cover more diverse industries and has invested in several technology startups in Thailand and abroad such as FlowAccount, Jitta, Builk, Grab, Nium, and Aspire.

About JWD Infologistics Public Company Limited (JWD)

JWD provides a complete range of services in logistics and supply chain covering 8 ASEAN countries covering more than 2 million square meters of service capacity. The company has a strong expertise in warehouse management and logistics services including dangerous goods, temperature-controlled goods, automotive and auto parts, and general goods. Other businesses include food supply chain, logistics IT solution and investment.

Contact:

FoodStory
Chanachai Chaipanya
Marketing Director
Email: [email protected]
Tel: +66 89 414 8338

Beacon VC
Suparat Opasyanont
Business Development Manager
Email: [email protected]
Tel: +66 85 139 9374

JWD
Supicha Paowarat
VP Corporate Communications
Email: [email protected]
Tel: +66 94 151 6324

Aging society กับโอกาสทางธุรกิจของ Startup ไทย

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันประเทศไทยได้กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ปัจจุบันสถิติผู้สูงอายุในปี 2563 อยู่ที่ 17.57% ซึ่งจากการคาดการณ์ในปี 2564 สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20% และเข้าสู่เกณฑ์สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (ประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20% ) Aging Society จึงเปรียบเสมือนอนาคตอันใกล้ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจ

 

Aging Society กับความเปลี่ยนแปลงในสังคม

 

Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในด้านประชากร เมื่อจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับประชากรวัยรุ่นที่ลดน้อยลง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในครั้งนี้ ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนด้วยวัยทำงาน เมื่อแรงงาน (Labor) น้อยลงทำให้ประเทศเสียโอกาสการเติบโตด้านเศรษฐกิจตามไปด้วย

ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้ส่งผลเสียเสมอไป เพราะเมื่อโครงสร้างประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลง กำลังซื้อและพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนตาม ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนหรือหาช่องทางทำกำไรจากผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่แห่งใหม่ ซึ่งมีโอกาสพัฒนาสู่เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy)

Aging Soiciety ความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมโอกาส

เมื่อวิเคราะห์ถึงโอกาสที่มาจากความเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ จะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว และการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น

โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
สำหรับในระยะยาวเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านภาพรวมของสังคม ทั้งด้านจำนวนประชากร และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ประชากรลดน้อยลง คนแต่งงานมีลูกน้อยลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้บริโภคจะมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนไปยังผู้สูงอายุมากขึ้น และกลุ่มที่มี กำลังซื้อหลักอย่างวัยทำงานก็จะลดลงเรื่อยๆ
  • ผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ประชาชนแข็งแรงมากขึ้น อายุยืนมากขึ้น ส่งผลกระทบในระยะยาว ในส่วนของภาคอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตร ที่ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น การปรับแปลงเกษตรทั่วไป สู่ฟาร์มเกษตรอาหารปลอดสารพิษ หรือ การผลิตสินค้าของผู้สูงอายุในจำนวนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เปรียบได้กับปัจจัยเร่งที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็วกว่า โดยความเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจะเน้นไปที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ทันที อย่างการเรียนรู้เทคโนโลยีและการลงทุน เป็นต้น

  • การขยายวัยเกษียณอายุ รายได้และกำลังซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย กลุ่มคนผู้สูงอายุจะเข้ามามีบทบาทในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มมากยิ่งขึ้นในทันที
  • การลงทุน การออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมเกษียณเพิ่มขึ้น ในส่วนนี้เทรนด์ที่กำลังมาแรงจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นของกองทุน RMF และ LTF ที่สนับสนุนให้คนลงทุนตั้งแต่ก่อนเกษียณ
  • การเปิดรับเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ โดยจากสถิติพบว่า กลุ่มคนผู้ใช้ Facebook ในช่วงอายุระหว่าง 55-64 ปีมีมากถึง 1.8 ล้านบัญชี และจากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุใช้ไลน์ในการบริโภคสื่อและข่าวสารมากขึ้น 50% ซึ่งในส่วนนี้ส่งผลโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ทั้งการปรับตัวและทำการตลาดออนไลน์เพื่อรองรับตลาดผู้สูงอายุ

โอกาสการทางธุรกิจจาก Aging Society

สำหรับการสร้างโอกาสทางธุรกิจจาก Aging Society เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุทั้งความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและสั้น

 

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล (Real Estate Tokenization)

 

Real Estate Tokenization คือ สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าจากอสังหาริมทรัพย์ โดยมีเทคโนโลยี Blockchain ในการจัดการ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งทางเลือกที่ผู้สูงอายุเลือกใช้ในการลงทุน เพื่อสร้าง Passive Income

Real Estate Tokenization อนาคตที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งการลงทุน ออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมการเกษียณอายุ อีกทั้งยังสอดคล้องกับการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของผู้สูงอายุอีกด้วย

นอกจากนี้ Real Estate Tokenization ยังมีจุดเด่นที่ปรับรูปแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบเดิม จากที่ผู้บริโภคต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อ สู่การลดต้นทุนในการลงทุนแต่เพิ่มจำนวนนักลงทุนแทน (Volume) เปลี่ยนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้จับต้องง่ายมากยิ่งขึ้น และเพิ่มโอกาสในการลงทุนของผู้สูงอายุที่ไม่มีกำลังซื้อมากพอในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบเก่า

 

ตัวอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล

ในตอนนี้ Tokenization Real Estate Assest ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว โดย Elevated Returns บริษัทจัดการสินทรัพย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการทำ Tokenization Real Estate Assest ด้วยการเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์เป็น Token โดยเริ่มต้นจากโครงการขายรีสอร์ตที่รัฐโคโลราโด (Colorado) ด้วยมูลค่ากว่า 18 ล้านอีเธอเรียม (Ethereum) หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท

 

ธุรกิจของตกแต่งบ้านแบบ Universal Design

 

สำหรับธุรกิจตกแต่งบ้านเป็นโอกาสที่มาพร้อมกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้คนวัยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปทำงานแต่กลับใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น การออกแบบและตกแต่ง บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกจึงเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามอง

การออกแบบและตกแต่งบ้าน แบบ Universal Design เพื่อให้ทุกคนภายในบ้านสามารถใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานของร่างกายจึงมีประสิทธิภาพลดลง เช่น การเดินและการทรงตัวที่ไม่มั่นคงเหมือนก่อน จึงเกิดการตกแต่งบ้านเพื่ออำนวยความสะดวก ตั้งแต่การติดตั้งราวจับ การรีโนเวทบ้านให้ผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่างเพื่อสะดวกในการเดิน เป็นต้น

โดยโอกาสทางธุรกิจของตกแต่งบ้านนั้น ผู้ที่จับจ่ายใช้สอยที่แท้จริงไม่ใช่ผู้สูงอายุ แต่เป็นบุตรหลานที่ปรับปรุงบ้านเพื่อให้ผู้สูงอายุสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตภายในบ้านมากขึ้น

ตัวอย่างธุรกิจตกแต่งบ้าน

Deesawat แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ในไทย ได้ปล่อยเฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้นจากเก้าอี้ (Brace Stool) ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงผู้สูงอายุ เช่น การออกแบบที่แขนด้านหลังและด้านหน้าให้เหลื่อมกันเพื่อใช้เป็นราวจับเก้าอี้ ซึ่งช่วยให้อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเป็นต้น

 

ธุรกิจด้านสุขภาพ

จากแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งการออกกำลังกายและการเลือกรับประทานอาหาร รวมไปถึงธุรกิจในด้านการบริการดูแลสุขภาพ เช่น บริการ Home Care ดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน เป็นต้น

โดยหนึ่งในธุรกิจที่ตอบโจทย์เรื่องความเปลี่ยนแปลงในการดูแลสุขภาพ คือ ธุรกิจด้านอาหารเพื่อสุขภาพ เมื่อผู้คนหันมาใส่ใจอาหารที่รับประทานมากขึ้น ดังนั้นโอกาสการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจึงโตตามไปด้วย

ตัวอย่างธุรกิจด้านสุขภาพ

สำหรับธุรกิจด้านสุขภาพโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เป็นธุรกิจที่เติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีร้านอาหารที่รองรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่าง Silver Cuisine ที่ออกแบบเมนูให้สอดคล้องกับโภชนาการของผู้สูงอายุ ทั้งการเลือกใช้ปริมาณเนื้อสัตว์ที่พอดี รวมถึงการลดการใช้โซเดียมเป็นต้น

ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้คนที่เพิ่งเข้าสู่วัยเกษียณ โดยผู้คนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อแต่ในวัยทำงานอาจจะไม่มีเวลาเที่ยว ดังนั้นเมื่อถึงวัยเกษียณก็พร้อมที่จะออกท่องเที่ยว จึงสอดคล้องกับแนวโน้มการตลาดด้านท่องเที่ยวที่เผยข้อมูลว่า เทรนด์การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ (Word is going to be grey) กำลังมาแรงในปี 2020

ดังนั้นการออกแบบธุรกิจการท่องเที่ยวให้ตอบสนองต่อวิถีผู้สูงอายุจึงเป็นโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การจัดทริปท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ มีกิจกรรมอย่างนวดแผนโบราณ ฝึกโยคะ การประคบสมุนไพร เป็นตัวชูโรงในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้

โดยการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ไม่เพียงแต่มีมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศเท่านั้น แต่ผู้สูงอายุชาวต่างชาติ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเข้ามาใช้บริการธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีหลายประเทศทั่วโลกที่มีประชากรกลุ่มเกษียณ ในอัตราส่วนถึง 1 ใน 4 จนไปถึง 6 ของประชากรประเทศทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่และสามารถสร้างโอกาสให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทย

ตัวอย่างธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

สำหรับประเทศไทยมีธุรกิจหลายแห่งที่เริ่มต้นนำเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมาปรับใช้ เช่น Local Alike Startup สายท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่นำเสนอชุมชนพื้นถิ่น พร้อมกับแพ็กเกจดูแลสุขภาพอย่างการทำสปาและโยคะ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวัฒนธรรม และได้ดูแลสุขภาพผ่อนคลายร่างกายไปพร้อมกับการท่องเที่ยว

นอกจาก Local Alike แล้วยังมี Heathticket เว็บไซต์สำหรับรวมแพ็กเกจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งการจองสปา รวมถึงการจองโรงพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุต่างประเทศ ที่ต้องการรับบริการทางการแพทย์ และท่องเที่ยวพักผ่อนในเมืองไทยในคราวเดียวกัน

 

Summary

 

Aging society หรือสังคมผู้สูงอายุ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่มาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจของ Startup ในไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งในด้านของสินค้าและบริการ รวมถึงการทำการตลาดเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และด้วยความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเช่นนี้ หากธุรกิจไหนที่ปรับตัวหรือสามารถหาช่องทางการทำธุรกิจกับผู้สูงอายุได้ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวก็ไม่ไกลเกินเอื้อม

PDPA คืออะไรและ Startup ควรให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง

Posted on by admin_beacon_2024

ในปัจจุบันข้อมูล (Data) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านการตลาดและการบริหารจัดการธุรกิจ บริษัทไหนที่มีข้อมูลของลูกค้าจำนวนมากเท่าไร ยิ่งสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมากเท่านั้น และความสำคัญข้อมูลนี้เองจึงเป็นที่มาของ PDPA

 

PDPA คืออะไร

PDPA (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) คือ กฎหมายที่คุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยในกำหนดให้การจัดเก็บข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าข้อมูลทุกครั้ง รวมถึงเจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการถอนความยินยอมได้ทุกเวลา และสำหรับผู้เก็บข้อมูลมีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลเหล่านั้น

 

คำจำกัดความและขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คือข้อมูลที่สามารถระบุถึงตัวตนของบุคคลนั้น ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เลขประจำตัวประชาชน ไปจนถึง E-mail โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น

 

ข้อมูลส่วนบุคคลใช้ทำอะไรได้บ้าง

สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในด้านการวิเคราะห์หา Insight ของลูกค้า เพื่อนำไปในใช้ในด้านการตลาด รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

ถึงแม้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นผลดีต่อธุรกิจ แต่ในทางกลับกันหากไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ ก็อาจนำมาสู่การถูกโจรกรรมข้อมูล และนำไปใช้ข้อมูลในทางที่ผิด ซึ่งจากประเด็นนี้ส่งผลให้เกิด PDPA ขึ้นมาในประเทศไทย

ผลกระทบจาก PDPA สู่ Startup

 

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าข้อมูลส่วนบุคคล ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการทำการตลาดและการพัฒนาสินค้า ดังนั้นผลกระทบที่ได้รับจึงขยายไปวงกว้าง เช่น การทำการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) อย่าง Facebook Ads และ Google Ads เมื่อข้อมูลมีอยู่จำกัด โอกาสที่จะทำโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายก็เป็นไปได้ยาก

เมื่อการทำการตลาดออนไลน์แม่นยำน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อช่องทางในการขาย รวมถึงต้นทุนในการทำโฆษณาที่ต้องอาศัยการทดสอบ (A/B Testing) บ่อยขึ้น เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายดังเดิม ผลกระทบจึงมากกว่าด้านการตลาด แต่ยังรวมถึงต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 

การเตรียมตัวสำหรับ Startup กับ PDPA

 

ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างไรก็ตามธุรกิจก็ต้องปรับตัว โดยการเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้ PDPA ของภาคธุรกิจเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ PDPA และบทบาทของธุรกิจ ซึ่งในทางกฎหมายแบ่งบทบาทของผู้ถือครองข้อมูล (ธุรกิจ) ออกเป็น 2 บทบาทดังนี้

1. Data Controller (ผู้ควบคุมข้อมูล) ผู้ควบคุมข้อมูล คือ ผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีบทบาทและหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การส่งต่อข้อมูลไปวิเคราะห์ หรือเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ เป็นต้น

2. Data Processor (ผู้ประมวลผลข้อมูล) สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลมีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ภายใต้คำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล โดยธุรกิจที่มีบทบาทนี้ เช่น บริษัทเกี่ยวกับ Data Analysis หรือผู้ให้บริการในด้าน Cloud เป็นต้น

นอกจากบทบาทแล้วสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ PDPA แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

  • จัดทำ Privacy Policy เช่น แจ้งรายละเอียดกับลูกค้าก่อนเก็บข้อมูล ตั้งแต่อธิบายข้อมูลส่วนตัวที่เก็บ ไปจนถึงอธิบายสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมการให้ข้อมูลของลูกค้า เป็นต้น
  • จัดการแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ เช่น การขอจัดเก็บ Cookie ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ เป็นต้น
  • จัดเก็บข้อมูลพนักงาน ในส่วนนี้ HR ต้องเป็นผู้ดำเนินการในการขอความยินยอมในการจัดเก็บข้อมูลของพนักงาน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

2. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

กำหนดนโยบายในการดำเนินการด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Standard Operating Procedure) เช่น การเก็บช่องทางการติดต่อข้อมูลของลูกค้า ในการส่ง Direct Marketing หลังจากการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเสร็จ หรือ การปรับรูปแบบการใช้ข้อมูล ลดการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้แต่มุ่งเน้นไปที่สถิติโดยรวมแทน เป็นต้น

3. มาตรการด้านรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  • กำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การรักษาความลับ (Confidentiality) การป้องกันด้านเทคนิค (Technical Safeguard) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (Physical Safeguard) รวมถึงควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (Access Control) เป็นต้น
  • กำหนดนโยบายระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล (Data Retention) โดยผู้ประกอบการควรกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลให้ชัดเจน และเมื่อครบกำหนดควรทำลายเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล
  • สร้างระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากผู้ไม่หวังดี เช่น การแจ้งเตือนผ่าน E-mail เมื่อมีผู้พยายามเข้าถึงข้อมูลหลายครั้งจนผิดปกติ หรือการ Login เพื่อเข้าถึงข้อมูลจากสถานที่อื่นและเครื่องอื่น (Device) เป็นต้น

4. การส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ไปยังผู้ให้บริการภายนอกหรือ Thrid Party ควรมีการทำสัญญาการรักษาข้อมูลตามกฎหมายของ PDPA รวมถึงควรมีกระบวนการรับคำร้องจากผู้ให้ข้อมูลด้วย

การปรับตัวของ Startup กับ PDPA

 

หลังจากทราบวิธีเตรียมตัวเพื่อให้บริษัทตอบรับกับกฎหมาย PDPA แล้ว ต่อมาคือการปรับตัวในด้านการตลาด ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจในด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าและบริการ ดังนั้น เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลมีน้อยลง ก็ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน

หลังจากทราบวิธีเตรียมตัวเพื่อให้บริษัทตอบรับกับกฎหมาย PDPA แล้ว ต่อมาคือการปรับตัวในด้านการตลาด ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจในด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าและบริการ ดังนั้น เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลมีน้อยลง ก็ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน

 

1. Heatmap

 

สำหรับธุรกิจไหนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง Heatmap เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เช่น ผู้ชมเว็บไซต์มาจากช่องทางไหน (โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์) อ่านตรงส่วนไหนของเว็บไซต์บ่อย หรือ มีการคลิกไปที่ผลิตภัณฑ์ไหนมากที่สุด เพื่อปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับพฤติกรรมส่วนใหญ่ของลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์ โดย ประโยชน์ของ Heatmap มีดังนี้

  • เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า ภายในเว็บไซต์แบบละเอียด ลงลึกถึงแต่ละส่วนของหน้าเว็บไซต์ ทั้งการคลิกหรือสินค้าที่ลูกค้าใช้ระยะเวลาในการอ่านนานเป็นพิเศษ
  • ปรับปรุงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น เมื่อทราบพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์แล้ว จะช่วยให้การปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ (UX/UI) มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ได้ ในส่วนนี้คือการนำข้อมูลหน้าสินค้าที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุด มาปรับใช้การตลาด เช่น ปรับตำแหน่งสินค้าในเว็บไซต์ให้เห็นชัดมากขึ้น หรือลดจำนวน การผลิตในสินค้าที่ลูกค้าไม่ค่อยให้ความสนใจ เป็นต้น

2. Social Listening Tools

 

ในส่วนของ Social Listening Tools นั้นเป็นเครื่องมือในการสำรวจว่าลูกค้ากำลังพูดถึงแบรนด์อย่างไรบนโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ โดยหลักการนำเครื่องมีนี้มาใช้ส่วนใหญ่มีด้วยกัน 3 วัตถุประสงค์ (Objective) ดังนี้

  • การปรับกลยุทธ์ในการสร้าง Brand Awareness โดยหลังจากที่แบรนด์รู้แล้วว่ามุมมองของลูกค้าต่อแบรนด์เป็นในลักษณะไหน ซึ่งหากไม่ตรงตาม Brand Awareness Stragy ก็ถึงเวลาปรับปรุงกลยุทธ์ใหม่ ให้เป็นไปตามที่แบรนด์ต้องการ รวมถึงวิเคราะห์จุดยืนความเป็นแบรนด์ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • การพัฒนาสินค้าตาม Customer Feedback สิ่งนี้เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่พาธุรกิจเติบโตไปได้ หากสามารถพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ โอกาสในการเพิ่ม Market Share ก็จะสูงตามไปด้วย
  • การวิเคราะห์หา Keyword ในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะการทำ SEM และ SEO หากทราบว่ากลุ่มลูกค้าใช้คำอะไรในการพูดถึงสินค้า ก็จะสามารถปรับแนวทางการใช้ Keyword เพื่อให้ลูกค้าค้นหาแบรนด์เจอบนโลกออนไลน์ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

3. Fanpage Karma

 

เมื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้น้อยลง ถึงเวลานำข้อมูลจากคู่แข่งมาใช้ให้เป็นประโยชน์ โดย Fanpage Karma เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งทั้งบน Facebook, Instagram และ Twitter รวมถึงการสำรวจ Social Trend และ Topic เพื่อนำมาปรับใช้ในการสร้างคอนเทนต์แบบ Real Time โดยแนวทางการนำ Fanpage Karma มาปรับใช้มีดังนี้

  • เปรียบเทียบ Content ทั้งรูปแบบของโพสต์และความถี่ในการลงโพสต์ ศึกษาว่าคู่แข่งที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางการทำ Content และการวางกลยุทธ์ในการโพสต์อย่างไร เพื่อนำมาเปรียบเทียบและปรับปรุง Content บนหน้า Facebook Page ให้มีประสิทธิภาพ
  • เปรียบเทียบ Engagement เพื่อดูว่าการทำ Content แบบ Organic ประเภทไหนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อลดต้นทุนในการทำโฆษณาผ่านเฟสบุ๊ก (Facebook Ads)

 

Summary

 

PDPA ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธุรกิจ ทั้งการเตรียมพร้อมปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลเพื่อหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย รวมถึงการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเมื่อข้อมูลที่มีลดน้อยลง ในยุคที่ธุรกิจขับเคลื่อนด้วย Big Data การปรับกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ สิ่งเหล่านี้ยังถือเป็นโจทย์ครั้งสำคัญที่เหล่าผู้ประกอบการ Startup ต้องแก้ปัญหาเพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในอนาคต

ที่มา:

Cloud Computing เพิ่ม Productivity ในธุรกิจได้อย่างไร

Posted on by admin_beacon_2024

Cloud Computing เป็นหนึ่งในระบบที่ถูกหยิบยกนำมาใช้งานกันโดยแพร่หลาย ตั้งแต่บริษัทยักษ์ใหญ่ไปจนถึงสตาร์ทอัพ เนื่องจากคุณสมบัติและความสามารถที่ตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม Producticity ให้กับองค์กรได้อีกด้วย

 

Cloud Computing คืออะไร

Cloud Computing คือ ระบบการจัดการและเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดความยุ่งยากในการกระจายและดาวน์โหลดข้อมูล ซึ่งระบบ Cloud Computing มีหลายประเภทดังนี้

  • IaaS (Infrastructure as a Service) คือ การบริการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในองค์กรเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันในการทำงาน เช่น Google Drive, Dropbox และ Microsoft Azure
  • PaaS (Platform as a Service) เป็นบริการจัดเก็บข้อมูลสำหรับสายงาน Developer โดยเฉพาะ ซึ่ง Cloud ประเภทนี้จะเน้นไปที่การจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาเว็บไซต์, ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
  • SaaS (Software as a Service) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานโดยใช้ระบบ Cloud ซึ่งสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องเหมือนซอฟต์แวร์ประเภทอื่น แต่จะเชื่อมต่อข้อมูลและทำงานผ่านระบบ Cloud ยกตัวอย่างเช่น Hubport, Slack และ Saleforce
  • FaaS (Functions as a Service) เป็นระบบที่ช่วยแบ่งเบาภาระของ Developer ในการทดสอบการทำงานของ Code ที่ต้องใช้เวลานานในการทดสอบ ซึ่งการใช้ FaaS ทาง Developer สามารถอัปโหลด Code เพื่อให้ Faas ทำการทดสอบการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยตัวอย่างบริการของ Faas เช่น AWS Lambda และ Google Cloud Function

ประโยชน์ของการใช้งาน Cloud Computing

  • ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เช่น ต้นทุนจากการจัดเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งในอดีตต้องลงทุนซื้อ Hardware อย่าง Hard Disk Drive เพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากในการทำธุรกิจ แต่ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้สามารถจัดเก็บได้ในระบบ Cloud ซึ่งนอกจากต้นทุนที่ตำ่กว่าแล้ว ยังสามารถขยายความจุได้มากกว่าเดิมด้วย
  • รองรับการขยายธุรกิจ เนื่องจากระบบ Cloud สามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บได้ เอื้อต่อการขยายฐานข้อมูล
  • ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านซอฟต์แวร์อย่าง Slack หรือ Dashboard ของ ClickUp ทำให้ทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก ไม่ซับซ้อน การทำงานจึงรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ลดระยะเวลาการค้นหาและส่งต่อไฟล์งาน
  • ความปลอดภัยของข้อมูล โดยผู้ให้บริการ Cloud Computing ส่วนใหญ่มักมีระบบ Cloud Security ผ่านการทำงานของ AI และระบบ Database Signature ที่ตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลอยู่เสมอ อีกทั้งการเข้าถึงข้อมูลในระบบ Cloud เจ้าของข้อมูลและระบบจะได้รับการแจ้งเตือนอยู่เสมอ จึงเป็นไปได้ยากที่จะถูกโจรกรรมข้อมูลทางธุรกิจ

Cloud Computing เพิ่ม Productivity ในธุรกิจได้อย่างไร

 

1. ลดการสื่อสารที่ซับซ้อนภายในทีม

จากสถิติพบว่าการสื่อสารที่ซับซ้อนภายในทีม จะลดประสิทธิภาพการทำงานถึง 86% ทำให้เสียเวลางานโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการใช้ระบบ Cloud ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ จึงช่วยลดการสื่อสารในประเด็นที่ไม่จำเป็นได้

ยกตัวอย่างเช่น การขอไฟล์ข้อมูล ถ้าหากถูกจัดเก็บใน Cloud ซึ่งสมาชิกในทีมสามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ ก็จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการสื่อสารที่ซับซ้อนโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

โดย นิตยสาร Forbes ได้สำรวจธุรกิจเกี่ยวกับการใช้ Cloud Computing ในการทำงาน พบว่าธุรกิจกว่า 64% ที่ใช้ระบบ Cloud นั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยทีมสามารถจัดการภาระงาน (Task) ได้อย่างดีและรวดเร็วมากขึ้น

 

2. ปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวคิด Lean Management

Lean Thinking หรือ Lean Management เป็นอีกหนึ่งแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เน้นการสร้าง ประสิทธิภาพและผลประโยชน์ให้กับองค์กร ด้วยคุณภาพที่สูงสุด (Quality) ต้นทุนที่ตำ่ที่สุด (Cost) และระยะเวลาการผลิตที่สั้นที่สุด (Delivery)

โดย Cloud Computing เข้ามีบทบาททั้งการเพิ่มคุณภาพการทำงานผ่านการลดการสื่อสารที่ซับซ้อน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการทำธุรกิจ อย่างการจ้าง Outsoucre และทำงานผ่านระบบ Cloud แทนการจ้างพนักงานประจำเพิ่ม รวมถึงลดระยะเวลาการผลิต ยกตัวอย่างเช่น การนำระบบ FaaS มาช่วยฝ่าย Deverloper ในการทำงานลดระยะเวลาในการทดสอบ Code เป็นต้น

 

3. สนับสนุนเทรนด์ Bring Your Own Device

 

Bring Your Own Device (BYOD) กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในการทำธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทกว่า 87%ให้ทีมเลือกใช้เครื่องมือในการทำงานด้วยตัวเอง เพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานในระบบที่ตัวเองไม่ถนัด เช่น บางคนถนัดใช้ Mac OS หรือบางคนถนัดใช้ Microsoft Windows ซึ่งหากทีมสามารถใช้ระบบที่ตัวเองถนัด จะช่วยทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ระบบใหม่

โดยระบบ Cloud Computing เข้ามาเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ในทุกระบบ ส่งผลให้ไม่ว่าสมาชิกในทีมจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน แต่ก็ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

4. Remote Working เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

Remote Working หรือการทำงานที่ไหนก็ได้ เป็นรูปแบบการทำงานที่หลายบริษัทเริ่มนำมาปรับใช้ ซึ่งจากการสำรวจของ Airtasker พบว่าการทำงานแบบ Remote Working จะช่วยลดความเครียดให้กับทีม

โดยการทำ Remote Working มีแนวโน้มที่จะเป็นเทรนด์สำคัญแห่งอนาคต ซึ่ง Cloud จะเข้ามามีบทบาทในการเป็นสะพานเชื่อมข้อมูลระหว่างทีม ทำให้ทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลในการทำงานได้ โดยไม่ต้องเข้าบริษัท ช่วยทำให้การทำงานแบบ Remote Working เป็นไปได้จริงและมีประสิทธิภาพ

 

 

5. ลดต้นทุนในการจัดการทีม

Productivity ในการทำธุรกิจ นอกเหนือจากด้านการทำงานของทีมแล้ว การจัดการต้นทุนให้คุ้มค่า ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพของธุรกิจ โดยการใช้ Cloud Computing ช่วยลดต้นทุนในการจัดการ ทั้งในด้านข้อมูล การจัดระเบียบองค์กร จนไปถึงทำการงานแบบอัตโนมัติขั้นสูง (Advance Automation) เช่น การจัดการเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบความปลอดภัย เป็นต้น

 

Summary

Cloud Computing เป็นอีกหนึ่งระบบที่มีแนวโน้มสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ เพราะนอกจากความสะดวกในการใช้งานแล้ว ระบบดังกล่าวยังเอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจอีกด้วย ทั้งการทำ Lean Managemet และการ Scale Up ผ่านคอนเซปต์อย่าง Remote Working สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: