Month: March 2019

กสิกรไทยจับมือ 8 พันธมิตรและ Startup จัด K SME Good To Great ปีที่สอง

Posted on by admin_beacon_2024

ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าโครงการ K SME Good to Great ปีที่สอง ดันกลุ่มธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง และธุรกิจค้าปลีก จัดคอร์สอัพธุรกิจเก่งให้โตด้วยการสัมมนาให้ความรู้ แคมป์อบรมเชิงลึก และการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ผู้ร่วมโครงการ 10 ราย ที่แข็งแกร่งที่สุดจะได้รับเงินรางวัลในการพัฒนาธุรกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีรวม 1 ล้านบาทจากธนาคารกสิกรไทย พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากพันธมิตรของโครงการ

 

นางสาวจิตราวิณี วรรณกร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยจัดโครงการ K SME Good to Great คอร์สอัพธุรกิจเก่งให้โต เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมศักยภาพให้ธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมในทุก ๆ ด้าน เริ่มต้นโครงการครั้งแรกในปี 2561 มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2,424 ราย และมีเอสเอ็มอีสุดแกร่งที่ได้รับรางวัลทุนวิจัยจากธนาคารไปแล้ว 8 ราย ธนาคารกสิกรไทยจึงเดินหน้าโครงการ K SME Good to Great ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง โดยปีนี้จะมุ่งเน้นเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง และกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประมาณการณ์อัตราการเติบโตในปี 2562 ที่ 3.5%, 5.1% และ 2.8% ตามลำดับ โดยปีนี้ธนาคารได้ร่วมกับ 8 พันธมิตร ประกอบด้วยหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและแพลตฟอร์มที่ตอบสนองการทำธุรกิจของเอสเอ็มอีในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สมาคมผู้ค้าปลีกไทย, สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย, บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด, บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด, บริษัท พาณิชย์ดิจิทัล จำกัด, บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด และบริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด ซึ่งจะร่วมมือกันช่วยพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีที่ร่วมโครงการนี้ตลอดทั้งโครงการ โดยปีนี้จะจัดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกสำหรับธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง และครั้งที่สองสำหรับธุรกิจค้าปลีก ในแต่ละครั้งจะมีกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

  1. งานสัมมนาให้ความรู้เทรนด์ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงประสบการณ์จากผู้ประกอบการในธุรกิจนั้นๆ
  2. แคมป์อบรมเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในแต่ละด้าน เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการผลิต จับคู่ธุรกิจเข้าช่องทางจำหน่าย กลยุทธ์การจัดการธุรกิจค้าปลีกแบบ Omni Channel เพื่อไปสู่ธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ โดยแต่ละครั้งจะคัดเลือกผู้สมัครเพียง 50 รายเท่านั้น
  3. การให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวในการทำวิจัย พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และจะมีเพียง 10 รายเท่านั้นจาก 2 โครงการที่จะได้รับคัดเลือก รับเงินรางวัลในการพัฒนาธุรกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีรายละ 100,000 บาท ในส่วนของธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอางจะได้รับเงินทุนในการวิจัยธุรกิจจาก สกว. ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากโครงการ จะได้รับสิทธิ์พิจารณาเข้าช่องทางจัดจำหน่าย Central Food Hall, Tops, 24 catalog และ Shopat24.com อีกด้วย

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจเข้าร่วมโครงการ K SME Good to Great ธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นโครงการแรกที่จัดขึ้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 21 เมษายน 2562 ที่เว็บไซต์ www.ksmegoodtogreat.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ K BIZ Contact Center โทร. 02-8888822

นางสาวจิตราวิณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารมีพันธมิตรหลากหลายองค์กรที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มงานให้ครบเครื่องมากยิ่งขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงพร้อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยธนาคารพร้อมให้การสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกมิติ รวมทั้งเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างเพื่อนผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน อันจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจได้

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ ด้านเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า เอสเอ็มอีจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่กําลังจะเกิดขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจ คุณภาพของสินค้าต้องดี รักษามาตรฐานการผลิต ใส่ใจที่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สร้างสินค้านวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และบริหารจัดการด้วยความเข้าใจ โครงการ K SME Good to Great นับเป็นโครงการที่ดีที่จะช่วยเอสเอ็มอีเพิ่มขีดความสามารถการทำธุรกิจ และต่อยอดผลิตภัณฑ์ ซึ่ง “นวัตกรรม” จะเป็นกุญแจหลักที่ผลักดันและเพิ่มขีดความสามารถเอสเอ็มอีในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนต่อไป

นายมนตรี กนกพงศกร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารและจัดซื้อกลุ่มสินค้าอาหารบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เปิดเผยว่า การเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ K SME Good to Great ครั้งนี้ ตอกย้ำแนวนโยบายกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ด้วยการสนับสนุนเอสเอ็มอีโดยทำหน้าที่เป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านค้าปลีกต่าง ๆ เพื่อให้สินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยเป็นที่ต้องการของตลาด โดยสินค้าที่สามารถวางจำหน่ายในซูเปอร์มารเก็ตของบริษัทได้นั้น ต้องผ่านมาตรฐานตามกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ใช้บริการสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย จะได้รับสิทธิพิเศษจากบริษัท ยกเว้นค่าเปิดหน้าบัญชีและค่าแรกเข้าสินค้าใหม่ พร้อมแนะนำหลักการวางแผนการผลิต การบริหารต้นทุนและกำไร การส่งเสริมการขายและใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

นายวีรวัฒน์ หงษ์สิทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโครงการ B2C e-Commerce บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการซื้อขายเชื่อมโยงทั้งออฟไลน์และออนไลน์มาโดยตลอด ได้แก่ การจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น การจำหน่ายผ่านแคทตาลอก ทีวีช้อปปิ้ง เว็บไซต์ คอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชัน บริษัทมีคลังจัดเก็บและการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่มีมากกว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ โดยมีระบบไอทีมาตรฐานสากลที่รองรับการทำงานแบบไร้รอยต่อ ดังนั้น ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จึงเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงออฟไลน์และออนไลน์ (O2O platform) ที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ให้ได้รับคำแนะนำเรื่องการพัฒนาให้เป็นที่ต้องการและสามารถเข้าถึงช่องทางเพื่อไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้

นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยต้องเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสื่อสารและการขายกับลูกค้าทางออนไลน์ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาเสริมไปกับการทำธุรกิจค้าปลีกแบบเดิม และไม่ต้องกังวลว่าธุรกิจค้าปลีกจะไปไม่รอด หากผู้ประกอบการพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถอยู่รอดต่อไปได้อย่างแน่นอน

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ K SME Good to Great สอดคล้องกับแนวทางของสมาคมฯ ที่ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่ประตูการค้าเปิดกว้างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ช่องทางการขายจะหลอมรวมกัน ไม่มีเส้นแบ่งแยกออนไลน์และออฟไลน์ ผู้บริโภคมีความคาดหวังที่สูงขึ้นต่อการบริการในทุก ๆ ช่องทางว่าจะได้รับบริการในรูปแบบที่เป็นหนึ่งเดียวกันไม่ว่าจะซื้อผ่านทางช่องทางใด สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่ปรับตัวได้ทันและเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

นายกัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด เปิดเผยว่า ข้อมูลเป็นทรัพยากรสำคัญประการหนึ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม ต้องอาศัยความรู้ในเชิงเทคนิคช่วยในการบริหารจัดการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณภาพ และการแสดงผลที่สื่อสารตรงจุดจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินได้ว่าธุรกิจกำลังเติบโตหรือถดถอย ส่วนไหนของธุรกิจที่ดีขึ้น ส่วนไหนที่ต้องแก้ไข หรือแสดงให้เห็นโอกาสในการขยายธุรกิจได้ ทั้งนี้ การนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจจะสะท้อนความเป็นจริงได้ชัดเจนกว่าการใช้ความคิดเห็นหรือความรู้สึก ดังนั้น ภายใต้โครงการนี้ ไอท้อปพลัส จะร่วมแบ่งปันความรู้ให้ผู้ประกอบการเข้าใจเทคนิคการจัดการข้อมูลทั้งกระบวนการ

นางสาววณิชชา วรรคาวิสันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาณิชย์ดิจิทัล จำกัด เจ้าของเพจ Digitory เปิดเผยว่า องค์ความรู้สำคัญประการหนึ่งที่เอสเอ็มอีจะได้จากโครงการนี้ คือ การทำการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน การขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้เครื่องมือทำการตลาดออนไลน์อาจจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เพราะฉะนั้น บริษัทฯมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเอสเอ็มอีเข้าใจกระบวนการทำการตลาดออนไลน์ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการใช้เครื่องมืออย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายสวภพ ท้วมแสง กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อการขายมีโอกาสและช่องทางมากขึ้น การบริหารจัดการข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินธุรกิจ เพราะทำให้เราสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการจะได้ตัวช่วยในการทำธุรกิจ อย่างครบถ้วนตั้งแต่การติดต่อกับลูกค้าไปจนถึงการปิดการขาย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย

Beacon VC leads seed funding for leading Thai rental properties management platform Horganice

Posted on by admin_beacon_2024

Beacon Venture Capital (Beacon VC), the corporate venture capital arm of Kasikornbank PLC. (SET: KBANK), announced its investment into a seed financing round of Horganice, a leading rental properties management platform in Thailand. The funding will enable Horganice to accelerate customer acquisition as well as adding new services to digitize rental properties, propelling Thailand into a digital era.

Mr. Thanapong Na Ranong, Managing Director of Beacon Venture Capital, announced that “Beacon VC has invested into a seed financing round into Horganice, a startup that provides rental properties management technology for apartments, dormitories, and markets, for an undisclosed amount. Beacon VC’s investment is not only an opportunity for Horganice to build technical capability, but also an opportunity to collaborate with KBank in order to acquire new customers and leverage innovative financial services, such as payment systems, to provide fast, efficient, and convenient product offerings to Horganice’s customers, especially those outside of Bangkok which are Horganice’s target market.”

Horganice represents the seventh direct investment and the first seed round investment by Beacon VC. Its most recent investments include Thailand-based wealthtech company Jitta, Southeast Asia’s leading cross-border payment company InstaReM, and ride-hailing and financial services unicorn Grab.

MrTanawit Tonekunya, CEO and Co-founder of Horganice, said, “We have already built a great rapport and been enjoying a number of productive collaborations with KBank. Our mission is to bring property management in Thailand into the new digital era and enable a carefree life for both owners and tenants alike. Today’s investment from Beacon VC will help us deliver that promise and move one big step closer to our mission”

The partnership with KBANK will enable Horganice to offer seamless financial services to tenants, property managers, and property owners, leveraging KBank’s leadership in digital banking. Collaboration initiatives which have already gone live this past year include online bill payments and new loan offerings. KBANK and Horganice have also been closely working together to bring knowledge on smart property management in the digital era to small and medium businesses (SMBs) across Thailand.

Horganice has had great reception from the market and is now serving around 3,000 properties, covering more than 130,000 rooms across almost every province in Thailand.  The company was founded by a group of aspiring young entrepreneurs and has received many national awards from notable organizations, such as the Winner Award of Startup Thailand Pitching Challenge Chiang Mai in 2017.  The company initially started out providing management software to university dorm owners before extending their product offerings to include cloud-based internet of things (IoT) hardware solutions and expanding coverage to wider customer segments, including hospital dorms and markets.

Established in 2015, Horganice offers both smart property management software and hardware-based automation products that reduce management costs and allow dorm owners to run their business easily and efficiently.


Also in:

Tech in Asia (English), e27 (English), DealstreetAsia (English), Techsauce (English),  The Nation (English), Money & Banking (Thai), Matichon (Thai), Prachachat (Thai), Positioning (Thai)